Scholar's Mate: บทเรียนหมากรุกจาก The Queen's Gambit Ep.1
สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกทุกคน ที่สนใจหมากรุกสากล วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Scholar's Mate หรือที่เพื่อนๆ อาจได้ดูจากซีรี่ย์ฮิตอย่าง The Queen's Gambit ในตอนแรกที่เขาบอกว่า 4 ตารุกฆาต (จริงๆ ควรเรียกว่า 4 ตา รุกจนมากกว่า) เรามาดูกันก่อนว่าการเดินในซีรี่ย์เกิดขึ้นได้อย่างไร เริ่มจาก
พ่อบ้านไชเบล เบธ ฮาร์มอน
1.e4 e5
2.Bc4 Nc6
3.Qf3
หลังจากคุณพ่อบ้านไชเบลเดินควีนไปที่ f3 เตรียมที่จะรุกจนเบธ ซึ่งเป็นผู้เล่นมือใหม่ ซึ่งเป็นกระดานแรกในชีวิตของเธอเลย เป็นเรื่องธรรมดาที่เบธจะไม่ทันระวัง จากนั้นฮาร์มอนเดิน
3... Nd4??
4.Qf7# คุณพ่อบ้านเอาชนะไปเพียงสี่ตาเดินเท่านั้น
4.Qf7# คุณพ่อบ้านเอาชนะไปเพียงสี่ตาเดินเท่านั้น
ที่นี้เรามาเรียนรู้รูปแบบ Scholar's Mate มาตรฐาน ว่าเป็นอย่างไร(ต่างจากในซีรี่ย์) เริ่มดังนี้ครับ
1.e4 e5 2.Bc4 Nc6 3.Qh5
เพื่อนๆ จะเห็นความแตกต่างในตาเดินที่ 3 ฝ่ายขาวเดินควีนไปที่ตำแหน่ง h5 เตรียมที่จะรุกจนเช่นกัน และฝ่ายดำมักจะผิดพลาดโดยการเดิน Nf6 ไล่ควีน แต่จำทำให้ฝ่ายขาวรุกจนโดนการเดิน 4.Qf7# รุกจนเช่นกัน ซึ่งที่ถูกฝ่ายดำควรเดิน g6 ในตาเดินที่ 3 ทำให้ฝ่ายขาวต้องถอยควีนหนีและเสียเวลาในการเดินควีนในช่วงต้นเกม
สรุป Scholar's Mate เป็นรูปจนที่ใช้ได้กับผู้เล่นหัดใหม่เท่านั้น ไม่ควรนำมาเล่นจริง :)) เพราะการเดินควีนออกมาเร็วไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะจะทำให้อีกฝ่ายโจมตีควีนซึ่งมีค่ามาก ทำให้เสียเวลา (tempo) การเดินหลายทีและทำให้เป็นรอง
เพื่อนๆ สามารถติดตามบทเรียนหมากรุกสากลจาก The Queen's Gambit ได้ในช่องยูทูปของผมนะครับหรือเริ่มที่ตอนแรกนี้ตามวีดีโอด้านล่าง ..ขอบคุณครับ ^_^
เพื่อนๆ สามารถติดตามบทเรียนหมากรุกสากลจาก The Queen's Gambit ได้ในช่องยูทูปของผมนะครับหรือเริ่มที่ตอนแรกนี้ตามวีดีโอด้านล่าง ..ขอบคุณครับ ^_^
เนื้อหาในคลิปนี้
รูปเปิด Queen's Gambit 1:45
Scholar's Mate 4:49
การยอมแพ้ 7:30
รูปเปิด Sicilian 8:58
Sicilian Dragon Levenfish Variation 11:17
Sicilian Najdoft 12:55
Queen's Gambit 14:25
Reti 15:12
Blindfold Chess 16:12
Simultaneous Chess 17:19
No comments:
Post a Comment