Monday, October 28, 2019

หมากรุกสากล แทคติค Discover Attack

     ในวันนี้ผมจะนำเสนออีกแทคติค Discover Attack หมายถึง เมื่อหมากตัวหนึ่ง เดินไป แล้ว หมากของฝ่ายตรงกันข้ามถูกโจมตี เราเรียกว่า Discovered Attack แทคติคนี้เมื่อมีการ check คิงร่วมด้วยเราอาจเรียกว่า Discover check ก็ได้ ...ดูตัวอย่างกันครับ



white to move

   จากรูปขาวเดิน Bxh7+ โจมตีคิงที่ g8 ทำให้ควีนดำ ที่ d7 ถูกโจมตีด้วยควีนขาว d1




white to move

   ควีนดำที่ b2 ขู่กิน เรือที่ a1 และม้า f6 พร้อมกัน แต่โชคร้ายสำหรับดำที่ขาวสามารถเดิน Nd5+ เปิดการโจมตี ควีนดำโดย   ควีนขาวที่ g7 เช่น 1.Nd5+ Rxd5 2.Qxb2 หรือไม่ว่าดำจะเดินอะไรก็ตามขาวก็จะได้ควีน



white to move

      ถ้าขาวเดิน เบี้ยไป f4 ก้อจะเปิดตาชอพที่ g2 รุกคิงดำที่ c6 และดำต้องเสียเรือ






Wednesday, October 23, 2019

หมากรุกสากล แทคติค Pin

     วันนี้ผมจะแนะนำแทคติค Pin ในหมากรุกสากล ซึ่งเป็นแทคติคที่ใช่บ่อยๆ มากๆ และเพื่อนๆ ควรจะทราบ กล่าวคือเมื่อหมากตัวหนึ่งถูกโจมตี แต่ไม่สามารถ เดินหนีได้เพราะจะทำให้หมากที่อยู่ด้านหลัง (ที่สำคัญกว่า) ถูกโจมตี เราเรียกลักษณะการณ์นี้ว่า pin



white to move

       จากรูปข้างต้น ขาวโจมตีควีนดำ โดยเดิน บิชอพ ไป b5 แต่ควีนดำไม่สามารถ ขยับหนีได้เพราะคิงดำจะถูกกินไม่ได้นั้นเอง ลักษณะนี้เราเรียกว่า “absolute pin” ทำให้ดำต้องเสียควีนอย่างแน่นอน



white to move

ขาวสร้าง absolute pin โดยเดิน Bc4



white to move

คราวนี้ คุณเพื่อนๆ คงเห็นแล้วว่าไนท์ดำ (ที่ตำแหน่ง e5) ตาย เพราะอะไร



Thursday, October 17, 2019

หมากรุกสากล แทคติค Fork

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมมาแนะนำแทคติคเบื้องต้นที่เพื่อนๆ ควรรู้ในหมากรุกสากล โดยในตอนนี้เราจะทำความรู้จักแทคติค Fork

The Fork   เมื่อหมาก ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปถูกโจมตีพร้อมกัน เราเรียกว่า “fork”



white to move
 ขาวเดิน 1.Ne7+ โจมตี ทั้งคิงดำ และ ควีนดำในเวลาเดียวกัน และ ได้ควีนฟรี



white to move
ในตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าถ้าเดินเรือไปที่ c5 เราจะโจมตีทั้วบิชอพ และ ม้า และจะได้ฟรีหนึ่งตัว



white to move
ตัวอย่างสุดท้ายนี้ ขาวเดิน เบี้ยไป c4 จับม้าทั้งสองตัว และจะได้ม้าตัวนึงอย่างแน่นอน



Wednesday, October 9, 2019

เทคนิคการไล่ช่วงเอนเกม ด้วยรู้ก และคิง ในหมากรุกสากล



วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ เรียนรู้ เทคนิค การเดินในช่วงปลายกระดานในหมากรุกสากล ด้วยการฝึกไล่ด้วย รู้ก และ คิง  พร้อมทำโจทย์ ง่ายๆ ด้วยกันครับ




Monday, October 7, 2019

การไล่คิงให้จน..ช่วงเอนเกม ตอนไล่ด้วยควีน และ รู้ก

การไล่คิงให้จน..ช่วงเอนเกม

ในวันนี้ผมจะมาแนะนำการไล่ปลายกระดาน เมื่ออีกฝ่ายเหลือเพียงคิงเท่านั้น..จะทำอย่างไรน๊า..ไปติดตามกันเลยครับ
อันดับแรกนะครับ ถ้าบนกระดานไม่มีพอนเหลืออยู่เลย อีกฝ่ายเหลือเพียงคิงโดดๆ เราจำเป็นต้องมีตัวหมากอย่างน้อยดังนี้ครับ

1.คิง+ควีน VS คิง
2.คิง+รู้ก VS คิง
3.คิง+2 บิชอพ VS คิง
4.คิง+บิชอพ+ไนท์ VS คิง

*ไนท์ 2 ตัว+คิง ไม่จนนอกจากว่าไปเข้ารูปเฉพาะซึ่งเป็นไปได้ยากมากๆๆ
ไนท์ 1 ตัว+คิง ไม่จนแน่นอน
บิชอพ 1 ตัว+คิง ไม่จนเช่นกัน

วันนี้ผมจะมาแนะนำการไล่ด้วยควีน และ รู้ก ซึ่งง่ายมากๆ

มีรายละเอียดดังนี้ครับ


1.การไล่ด้วย คิง+ควีน+รู้ก vs คิง
2.การไล่ด้วย คิง+รู้ก+รู้ก vs คิง
3.การไล่ด้วย คิง+ควีน vs คิง

4.การไล่ด้วย คิง+รู้ก vs คิง



หมากรุกสากล "บางครั้งก็ไม่มีผู้ชนะ" การเสมอกันในหมากรุกสากล

ตอนนี้เราจะมาดูกันว่าในการเล่นหมากรุกสากลนั้น เมื่อไรจึงจะเสมอกัน

1.ตัวหมากไม่เพียงพอที่จะทำให้คิงอีกฝ่ายจน(Insufficient Material)

คือไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถชนะกันได้ เช่น ทั้งสองฝ่ายเหลือเพียง คิง กับ คิง

2.ทั้งสองฝ่ายยอมเสมอกัน (Friendly Agreement)
ผู้เล่นสองฝ่ายตกลงเสมอกัน อาจเพราะเปล่าประโยชน์ที่เสียเวลาเล่นในตำแหน่งที่คิดว่าไม่น่าจะชนะกันได้ หรือบางทีก็กลัวจะพลาดพลั้งด้วยกันทั้งคู่
หรือบางทีในเกมการแข่งขันทั้งสองพอใจกับการแบ่งคะแนนกันไป (ในหมากรุกสากลนั้น ปกติ ชนะได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้แต้ม และ เสมอกันจะได้ฝ่ายละครึ่งคะแนน หรือ 0.5 แต้ม
ในผู้เล่นระดับสูงเช่น ระดับ grandmaster มักตกลงเสมอกันเมื่อเดินไปเพียงไม่กี่ตา ลักษณะนี้เราเรียกว่า "grandmaster draws."

3. การรุกล้อ (Perpetual Check)
คือการที่คิงไม่สามารถหนีจากการรุกครั้งแล้วครั้งเล่าของคู่ต่อสู้ได้ (จำได้ไหมครับว่า เมื่อคิงถูกรุก และหมดตาเดิน เราเรียกว่า "รุกจน") เมื่อคิงหลบการรุกจากตำแหน่งหนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง ก็จะถูกรุกอยู่ร่ำไป (ส่วนใหญ่ฝ่ายที่รุกล้อ เพื่อหวังผลเสมอ หรือบางทีรูปหมากเสียเปรียบ การรุกล้อเป็นวิธีเดียวที่จะเอาเสมอได้) มาดูตัวอย่างกันดีไหมครับ



จากรูปข้างต้นจะเห็นว่า ฝ่ายดำมีตัวหมากมากกว่า คือ 2 รู้ค และ 2 พอน ส่วนฝ่ายขาวมีเพียงรู้ค เท่านั้น แต่นั่นก็เพียงพอสำหรับการแบ่งแต้ม!!


ฝ่ายขาวเดิน 1.Rd7+ โจมตีคิงดำ ฝ่ายดำเลือกเดินคิงได้เพียงสองตาเดิน ซึ่งผลก็ไม่ต่างกันนัก


1...Kb8 ฝ่ายดำเลือกเดินคิงไปตา b8


2.Rd8+ ฝ่ายขาวเดินรู้คไปรุกคิงดำที่ d8 อ่าฮ่า ตอนนี้คิงดำทำได้เพียงเดินกลับไปตาเดิมและฝ่ายขาวทำดีที่สุดเพียงรุกล้อเท่านั้น เห็นไหมว่าตัวเยอะกว่าใช่ว่าจะชนะเสมอไป

4. การอับ (Stalemate)
คือการที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นฝ่ายที่จะต้องเดินในตานั้น แต่ว่าไม่สามารถเดินได้ เพราะไม่มีตาเดินที่ถูกกติกา (และคิงก็ไม่ได้ถูกรุกอยู่) ลักษณะนี้เราเรียกว่า "อับ" ไปดูรูปประกอบกันเลยครับ


รูปนี้ฝ่ายขาวเพิ่งเดิน รู้คไปยัง g7 1.Rg7 ซึ่งเป็นการพลาดมหันต์แทนที่จะชนะเลยต้องแบ่งแต้มให้ฝ่ายดำเพราะทั้งคิงดำ และพอนดำ ไม่สามารถเดินได้ ทำให้เสมอกานปายยยยย

เอาล่ะครับ เพื่อนๆเมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ เพื่อนๆก็พร้อมแล้วที่จะลงสมรภูมิการเล่นหมากรุกสากล...ในการเรียนรู้หมากรุกสากลนั้นชีวิตนี้อาจไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ได้หมด แต่หวังว่าเพื่อนๆจะสนุกกับมันนะครับ แล้วพบกันอีกครับ

Saturday, October 5, 2019

หมากรุกสากล การรุกจน (Checkmate)

ในหมากรุกสากลนั้น ผลการแข่งขันออกได้สามหน้าคือ ชนะ แพ้ หรือ เสมอ อย่างที่ผมกล่าวในตอนแรกๆว่า เป้าหมายของการเล่นหมากรุกสากลคือ
การทำให้คิงของคู่ต่อสู้จน หรือไม่มีตาเดิน เมื่อคิงถูกกินโดยหมากของฝ่ายตรงข้ามเราเรียกว่า "check" หรือ "รุก"
และเมื่อคิงถูกกิน และหมดตาเดิน เราเรียกว่า "checkmate" หรือ "รุกจน"

รุกจน (checkmate) เกิดขึ้นเมื่อใดเรามาดูกันครับ

มีข้อควรจำง่ายๆดังนี้

1.คิงอยู่ในตากินของฝ่ายตรงข้าม (ถูกรุกอยู่)
2.คิงไม่สามารถเดินหนีไปตาอื่นๆได้
3.เรากินหมากที่กำลังรุกคิงอยู่ไม่ได้
4.เราไม่สามารถเอาหมากตัวอื่นของเรามากันตารุกได้

ถ้านับข้อดีได้สี่ข้อแล้ว..เอ้ย นับได้ 4 ขั้นตอนดังนี้คิงได้ถูกรุกจนซะแล้ว

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ 


รูปนี้ฝ่ายขาวเป็นฝ่ายเดินก่อน และเตรียม รุก คิงดำด้วยรู้คที่ตำแหน่ง b8


รูปนี้หลังจากรู้คขาวทำการ "รุก"ที่ตำแหน่ง b8 (เราเขียนบันทึกตาเดินได้ว่า 1.Rb8+ เครื่องหมาย + ด้านหลังหมายถึงรุกครับ)
ตอนนี้คิงดำอยู่ในกฎข้อ 1.ที่ผมกล่าวข้างต้นแล้วคือ คิงอยู่ในตากินของคู่ต่อสู้ อ่ะๆ เรามาดูกันต่อในข้อสองที่ว่า คิงไม่สามารถเดินไปตาอื่นได้ เพื่อนๆจะสังเกตได้ว่า คิงดำที่ h8 มันช่างน่าสงสารเสียจริง  เพราะติดพอน สองตัวของตัวเองทำให้เดินหนีไปไหนไม่ได้


แต่เดี๋ยวก่อนพี่น้องครับ ฝ่ายดำสามารถเดินไนท์มากันตารุกของ รู้คได้ (อยู่ในข้อ4 ที่ว่าเอาหมากมากันตารุก) 1..Ng8 อ่า รอดตายแล้วเรา 


แต่มันยังไม่จบครับ..ฝ่ายขาว เดินไนท์มาตำแหน่งf7 2.Nf7# (เครื่องหมาย # หมายถึงการรุกจน)แล้วพูดเสียงดังว่า "CHECKMATE"  ไนท์ของขาวตัวนี้เทพจริงๆ 1.คิงของดำถูกรุก 2.คิงไม่สามารถเดินไปตาอื่นได้ 3.กินไนท์ของฝ่ายขาวก็ไม่ได้ และ 4.หาหมากมากันก็ไม่ได้อีก โอ้ว..แพ้แล้วจริงๆ

แต่ในการแข่งขัน หรือการเล่นจริงๆ เกมอาจไม่จบลงด้วยการเมทเสมอไป บางทีเมื่อหมากเสียเปรียบมากๆ อีกฝ่ายก็อาจยอมแพ้ก่อนได้(ยอมยกธง) ส่วนใหญ่มือระดับสูงจะไม่ยอมให้ "เชคเมท" เมื่อเห็นว่าไม่กี่ตาข้างหน้านั้นจะ ถูกรุกจนอย่างแน่นอน ก็จะยอมแพ้ก่อนครับ

แต่สำหรับมือใหม่ๆ อย่างเราควรฝืนเล่นให้จบเกมแม้มันจะทรมานมากก็ตาม

 แต่มันจะช่วยให้การเล่นของคุณดีขึ้นเรื่อยๆครับ  ในตอนต่อไปผมจะพูดถึงการเสมอกัน ว่ามีในกรณีไหนบ้างครับ วันนี้ลาไปก่อน


Thursday, October 3, 2019

การโปรโมทพอน (Promoting the Pawn) ในหมากรุกสากล

กฎข้อนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน..เมื่อพอน เดินไปถึงสุดกระดาน(rank8) เราสามารถเลือกเปลี่ยนพอนเป็นหมากตัวไหนก็ได้สีเดียวกัน (นอกจากคิง) คือเปลี่ยนเป็น ควีน,รู้ค,ไนท์ หรือ บิชอพ เจ๋งใช่มั้ยล่ะครับ
เกมเชสหลายๆเกมก็ตัดสินกันที่การโปรโมทพอนนี่ล่ะครับ โดยมากจะเลือกโปรโมทเป็น ควีน เพราะเป็นหมากที่มีอานุภาพมากที่สุด แต่บางกรณีการโปรโมทเป็นหมากตัวอื่นๆก็ดีกว่า..เช่น ไนท์ หรือ รู้ค ไปดูภาพประกอบกันอย่างเคยดีกว่าครับ



จากรูปพอนc7 พร้อมจะโปรโมทเป็นหมากอะไรก็ได้แล้ว!!


รูปนี้ขาวเลือกโปรโมทเป็นควีน เพราะเป็นหมากมีค่ามากสุด (เรื่องค่าของหมากจะกล่าวถึงในบทต่อๆไปครับ)


รูปนี้ฝ่ายดำเพิ่งโปรโมทควีนที่ตำแหน่ง h1 แต่เดี๋ยวก่อน..ขาวก็กำลังจะได้โปรโมทเหมือนกันนี่นา..เลือกโปรโมทเป็นควีนละกัน..แต่ เอ๊.... ผมเลือกโปรโมทเป็นไนท์ดีก่า..เพราะคิงดำจนแล้วนิ หุๆๆ


ภาพสุดท้ายนี้ฝ่ายขาว รุกจน(checkmate) คิงของฝ่ายดำด้วยไนท์!! (โปรดสังเกตว่าคิงดำไม่สามารถเดินไปไหนได้อีกแล้ว นี่ล่ะที่เรียกว่าจน) เป็นตัวอย่างนึงของการเลือกโปรโมทเป็นหมากที่มีค่าน้อยกว่าควีน แต่ขาวชนะโดยทันที โฮ่ๆๆ

การเข้าป้อม (Castling) ในหมากรุกสากล

การเข้าป้อม (Castling)
การเข้าป้อมเป็นตาเดินพิเศษของคิง แต่ละฝ่ายมีโอกาสเดินเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในแต่ละเกม(หรือ..อาจจะไม่ได้เดินเลยก็ได้..ทำไมน่ะหรือ เดี๋ยวไปดูกันครับ)
ก่อนที่จะไปดูการเข้าป้อมเราลองไปดูอะไรเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ



จากภาพด้านบนเราอาจแบ่งตำแหน่งบนกระดานเป็นฝั่งคิง(kingside) และฝั่งควีน(queenside) จากตำแหน่งของคิงและควีน เพื่อนๆจะสังเกตได้ว่าคิงทั้งสองฝั่งยืนอยู่ตรงกัน และควีนก็ยืนอยู่ตรงกันเช่นกัน

ไปพิจารณารูปต่อไปกันครับ


ครับ..จากรูปข้างบน ฝ่ายขาวเตรียมเข้าป้อม(ฝั่งควีน) ส่วนฝ่ายดำก็ไม่ยอมน้อยหน้าเตรียมเข้าป้อม(ฝั่งคิง)เช่นกัน ที่ผมกล่าวว่าการเข้าป้อมเป็นการเดินแบบพิเศษนั้นเพราะว่าเราสามารถเดินคิงและรู้คพร้อมกันใน 1 ตาเท่านั้น  ไปดูรูปต่อไปกันเลย..


รูปนี้เป็นตำแหน่งหลังทั้งสองฝั่งทำการเข้าป้อมแล้ว จะเห็นได้ว่า
- ขาวเดินคิงไปสองช่องทางฝั่งควีน และดำเดินคิงไปสองช่องทางฝั่งคิง
- ขาวเดินรู้คไปสามช่องจากตำแหน่ง a1-d1 ส่วนดำเดินรู้คไปสองช่องจาก h8-f8 อืมม์..ขาวต้องเดินเรือไกลกว่าฝ่ายดำเมื่อเข้าป้อมฝั่งควีน หรือเราอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า..การเข้าป้อมฝั่งคิง เป็นการเข้าป้อมด้านใกล้ ส่วนการเข้าป้อมฝั่งควีน เป็นการเข้าป้อมด้านไกล
- เราจึงบันทึกตาเดินการเข้าป้อมทั้งสองฝั่งได้ดังนี้
"0-0" แทนการเข้าป้อมฝั่งคิง
"0-0-0" แทนการเข้าป้อมฝั่งควีน

มีกฎง่ายๆที่ควรจำในเรื่องการเข้าป้อมกันครับ
1.เราสามารถทำการเข้าป้อมได้ทั้งฝั่งคิง และฝั่งควีน
2.คิงต้องไม่เคยเดินมาก่อนตั้งแต่เริ่มเล่น
3.รู้คฝั่งที่เราจะทำการเข้าป้อม ต้องไม่เคยเดินมาก่อนเช่นกัน
4.ระหว่างคิงและรู้คต้องไม่มีหมากขวางอยู่
5.เราไม่สามารถเข้าป้อมเพื่อหนีการกินคิงของหมากอีกฝ่ายได้ (การกินคิงหรือการรุก(check)
6.เราไม่สามารถเข้าป้อมแล้วคิงไปอยู่ตากินของอีกฝ่ายได้ (อันนี้มันชัวร์อยู่แล้ว..เพราะคิงของเราจะโดนกินไม่ได้)
7.คิงไม่สามารถเดินผ่านตากินของอีกฝ่ายเพื่อเข้าป้อมได้
ไปดูรูปประกอบกันดีก่า..หุๆ


จากรูปคิงฝ่ายขาวไม่สามารถเข้าป้อมฝั่งคิงได้เพราะบิชอพของดำโจมตีตา f1 ซึ่งคิงขาวต้องเดินผ่านตานั้น แต่ทำการเข้าป้อมฝั่งควีนได้
ส่วนคิงดำ เลือกเข้าป้อมได้แต่ฝั่งควีน เพราะเข้าป้อมฝั่งคิงมีควีนขาวต้อนรับอยู่(เหอๆ) อีกอย่างมันผิดกฎอย่างแรง..คิงเราจะถูกกินไม่ได้


มาถึงรูปสุดท้ายประจำวันนี้(เฮ้อ..เริ่มเหนื่อย) ฝ่ายดำเพิ่งเดินควีนมารุก(กินคิง)คิงขาวที่ตำแหน่ง e4 ฝ่ายขาวไม่สามารถเข้าป้อมเพื่อหนีรุกได้ ต้องเดินอย่างอื่นแทน...

นิดนึงครับก่อนจากกันไป..เวลาเราจะเข้าป้อมนั้น เราต้องจับคิงก่อนเสมอ....

จบเรื่องการเข้าป้อมแล้วครับ..แล้วพบกันอีกครับ 




ออง ปาสซอง (En passant) ในหมากรุกสากล

ออง ปาสซอง (En passant)
"en passant" มาจากภาษาฝรั่งเศส ออกเสียงว่า "ออง ปาส ซอง" แปลว่า "in passing" ในภาษาอังกฤษ และเราเรียกว่า การกินผ่าน
เชื่อหรือไม่ว่านี่เป็นกฎการเดินแบบง่ายๆ ในหมากรุกสากล แต่ผมพบว่าคนที่เล่นส่วนใหญ่ไม่รู้จักกฎข้อนี้ครับ เรามาทำความเข้าใจกันครับ ไปดูรูปประกอบกันเลยครับ 


เมื่อลองพิจารณาจะเห็นว่า
- เป็นตาเดินของฝ่ายขาว
- พอนของฝ่ายขาวอยู่ที่ตำแหน่งเริ่มต้น ส่วนพอนของฝ่ายดำมายืนกดดันฝ่ายขาวที่ rank4 ตำแหน่ง e4
- เพื่อนๆคงจำกันได้ว่า จุดสีแดงคือ ตากินของพอนดำ(d3 และ f3) และพอนขาวเลือกเดินไป 2 ช่อง ไปตำแหน่ง d4(จุดสีเขียว)ได้
ไปดูรูปที่ 2 เลยครับ


จากรูปเป็นตำแหน่งหลังจากฝ่ายขาวเดินพอนไป d4 (เราบันทึกตาเดินนี้ว่า 1.d4)
แต่เกิดเหตุเข็มขัดสั้น..เอ้ย คาดไม่ถึง ฝ่ายดำจับพอนขาวออกจากกระดาน และเดินพอนของฝ่ายตนไปตำแหน่ง d3
เพื่อนๆจะสังเกตว่า ฝ่ายขาวเดินพอนผ่านตากินของพอนดำ
ไปดูรูปสุดท้ายกันครับ


เป็นตำแหน่งหลังจาก พอนดำกินพอนขาว (เราบันทึกตาเดินนี้ว่า 1...exd3)
*มีข้อสังเกตนิดนึงนะครับ หลังจากขาวเดิน 1.d4 ฝ่ายดำเลือกไม่กินผ่านก็ได้ เช่นไปเดินคิง แต่ดำจะไม่มีสิทธิกินผ่านอีก

จบเรื่องการกินผ่านล่ะครับ อีกนิดเดียวเราก็พร้อมจะลงสนามแว้ว

Wednesday, October 2, 2019

การอ่าน และ การจดบันทึกหมากใน หมากรุกสากล



            กาลครั้งหนึ่งไม่ค่อยนานเท่าไร ขณะที่ผมนั่งรอคิวอยู่ในโรงพยาบาล มีผู้หญิงวัยกลางคน คนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า

"นี่หนู..รู้มั้ยว่าภาษาจีนนี่อ่านไปทางขวามือ หรืออ่านจากบนลงล่างล่ะ"
"ทำไม..หรือครับ" ผมตอบ
"นี่ไง ป้าสวดมนต์ ไม่รู้ป้าสวดถูกหรือผิดน่ะ แบบว่ากลัวผิด" พลางชี้ให้ดูที่หนังสือที่ป้าแกถืออยู่ เป็นภาษาจีน
"เอ่อ..น่าจะอ่านลงนะครับ" ผมตอบแบบไม่แน่ใจนัก พลางคิดถึงหนังจีนที่เคยดู(คิดเอาเองว่าอ่านจากบนลงล่าง เหอๆๆๆ)
"ที่จริงผมไม่รู้ภาษาจีนหรอกครับ แต่คิดว่าอ่านจากบนลงล่างนะครับ"ตอบแบบเชื่อมั่นมาก..เหอะๆ
"อ้าว..ป้า เห็นหนูอ่านอยู่นิ" ป้าพูดพร้อมกับเอานิ้วชี้จิ้มมาที่หนังสือที่ผมกำลังถืออยู่
ผมหัวเราะในใจดังลั่น "โฮ่ๆๆๆ โธ่ป้านี่มันหนังสือหมากรุกสากล

ที่ป้าแกเห็นผมอ่านจะคล้ายๆ รูปด้านล่างครับ



คงจะจำกันได้นะครับว่าในตอนแรกๆที่ผมแนะนำว่ากระดานที่เราเล่นหมากรุกสากล นั้นมี rank และ file ทีนี้ล่ะคือประโยชน์ของมัน ก่อนอื่นเรามาทบทวนกันสักเล็กน้อย

file = แนวตั้ง กำกับด้วยตัวอักษร A-H
rank = แนวนอน กำกับด้วยตัวเลข 1-8

จากรูปข้างบน(เพื่อนๆ ที่ติดตามมาแต่ต้นคงคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ กันมาแล้วนะครับ ผมให้ดูทั้งตัวที่เล่นกันจริงๆ กับสัญลักษณ์แทนในบอร์ด) จะเห็นว่ามีรูปม้า บิชอพ ควีน ฯลฯ เพราะหมากรุกสากล นั้นมีคนเล่นกันทั่วทุกมุมโลกตำราส่วนใหญ่จึงใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวอักษร *แต่ละชาติก็ใช้ภาษาต่างกันอย่างที่ผมเคยบอกนั่นแหล่ะว่า แม้แต่ตัวหมากก็ยังเรียกชื่อต่างกัน ทำให้การบันทึกหมากนั้นเวลาใช้เป็นตัวอักษรก็ไม่เหมือนกัน เริ่มงงแล้วใช้มั้ยล่ะครับ  ไปดูตัวอย่างกันเล้ยยครับ

หมากทุกตัวมีอักษรย่อประจำตัวดังนี้ (ยกเว้น พอน)

- คิง (King) = K

- ควีน (Queen) = Q

- รู้ค (Rook) = R

- บิชอพ (Bishop) = B

- ม้า (Knight) = N

*หมายเหตุ อย่างที่ผมบอกแหล่ะครับบางชาติไม่ได้ใช้อักษรย่อเหมือนที่ผมบอกเพราะว่าเขาเรียกชื่อคนละแบบ จึงใช้ชื่อย่อต่างกันไป แต่ภาษาอังกฤษถือว่าเป็นสากลที่สุด

ครับทีนี้เรามาดูกันว่าหมากรุกสากล อ่านและเขียนอย่างไรไปดูรูปกันครับ


ภาพข้างบนนี้เพื่อนๆจะเห็นว่าผมลากพิกัดจาก file-e และ rank-4 เราก็จะได้ตำแหน่งของช่องตาเดินหมากรุก ตำแหน่งนี้เราเรียกว่า "e4" (อีสี่นะครับ ไม่ใช่ สี่อี อิๆ)ส่วนช่องอื่นๆ เพื่อนๆก็ลองลากพิกัดดูกันครับ


รูปนี้เป็นตำแหน่งเมื่อเริ่มเกม เพื่อนๆคงเห็นจนชินตาละ


ที่นี้ฝ่ายขาวเดิน พอน จากตำแหน่ง e2 ไปยัง e4 (ยังจำได้ไหมว่า ฝ่ายขาวเป็นฝ่ายเริ่มเกมก่อนเสมอ)
เราสามารถบันทึกได้ว่า 1.e4
อธิบายได้ดังนี้
- เลข 1 หมายถึงตาเดินแรก
- e4 หมายถึง เราเดินพอนไปตำแหน่ง e4 (อย่างที่ผมกล่าวตอนแรกครับว่า พอนไม่มีอักษรประจำตัว เวลาเราเขียนตำแหน่งเฉยๆ เราจึงทราบได้ทันทีว่าหมายถึงการเดินพอน)


ต่อมาฝ่ายดำเดิน โดยเดินพอนจากตำแหน่ง d7 ไปยัง d5
เราสามารถบันทึกได้ว่า 1...d5
อธิบายได้ดังนี้
- เลข 1 แล้วมีจุดสามจุดตามหลัง หมายถึงเป็นตาเดินแรกของฝ่ายดำ
- d5 หมายถึง เดินพอนไปตำแหน่ง d5

แต่เมื่อเราบันทึกรวมกันจะได้ว่า
1.e4 d5 (เพื่อนๆอาจงง ทำไมทีนี้ไม่มีจุดสามจุดล่ะ คือเมื่อเรากล่าวถึงตาเดินของดำลอยๆ ไม่พูดถึงขาวเราต้องใส่จุดสามจุดเสมอเพื่อบอกว่า นี่อ่ะตาดำเดินนะ


ในรูปด้านบนเป็นรูปจากตอนที่แล้ว หลังจากขาวและดำเดินไปฝ่ายละ 1 ตาดังนี้
1.e4 d5


2.exd5

อธิบายได้ว่า
- ในตาเดินที่สองของฝ่ายขาว ขาวเดินพอนที่ตำแหน่ง e4 กินพอนของดำที่ตำแหน่ง d5
- เราใช้เครื่องหมาย " x " แทนความหมายว่า "กิน"


2...Qxd5
อธิบายได้ว่า
- ในตาเดินที่สองของฝ่ายดำ ดำเดินควีนที่ตำแหน่ง d8 กินพอนของขาวที่ตำแหน่ง d5
- โปรดสังเกตว่าควีนมีสัญลักษณ์แทนตัวมันเองคือ "Q"


3.Nc3
อธิบายได้ว่า
- ในตาเดินที่สาม ขาวเดินไนท์ไปตำแหน่ง c3


3...Qa5
อธิบายได้ว่า
- ในตาเดินที่สามของฝ่ายดำ ดำเดิน ควีน จากตำแหน่ง d5 ไป a5


4.Nge2
อธิบายได้ว่า
- ในตาเดินที่สี่ ของฝ่ายขาว ขาวเดินไนท์ไปตำแหน่ง e2
- ข้อสังเกตที่สำคัญนะครับ ในรูปนี้ไนท์ทั้งสองตัวของฝ่ายขาวสามารถเดินไปยังตำแหน่ง e2 ได้ เราจึงต้องระบุด้วยว่าไนท์ตัวไหนกันแน่ที่เดินไปยัง e2 ในที่นี้คือ ไนท์ที่ g1 หรือเราอาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า Ng1-e2 แต่เราเขียนสั้นๆว่า Nge2 ก็เข้าใจกันนะครับ 

ยังมีอีกตัวอย่างที่น่าสนใจครับ..


     เพื่อนๆลองพิจารณารูปข้างบนนี้แล้ว คิดว่าถ้าผมจะเดิน ไนท์จาก d3 ไป f4 ผมต้องบันทึกตาเดินว่าอย่างไรครับ
ติ๊กต่อกๆ ..ติ๊กต่อกๆ ..อ่ะๆๆ ตอบได้แล้วครับ
คำตอบคือ........N3f4 ครับ หรือเขียนเต็มๆว่า Nd3-f4 โปรดสังเกตว่า ไนท์ทั้งสองตัวอยู่บนไฟล์เดียวกันคือ ไฟล์ d เราจึงใช้ ตำแหน่งของ rank มาช่วยบอกตำแหน่ง ในที่นี้คือ rank 3 โอ๊ะๆอย่าเพิ่งขมวดคิ้วสิ ค่อยๆดูแล้วจะรู้ว่ามันง่ายจิ๊ดเดียว

ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆที่สำคัญอีกดังนี้ครับ

x = กิน (Captures)
+ = รุก (Check)
# = รุกจน (Checkmate)
0-0 = เข้าป้อมฝั่งคิง (Castles Kingside)
0-0-0 = เข้าป้อมฝั่งควีน (Castles Queenside)
! = ตาเดินที่ดี (Good move)
!! = ตาเดินที่ดีมาก สวยงาม (Brilliant move)
? = ตาเดินที่ไม่ดี (Poor move)
?? = ตาเดินที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ (Blunder move)
!? = ตาเดินที่น่าสนใจ (Interesting move)
?! = ตาเดินที่น่าสงสัย (Dubious move)

ซึ่งเพื่อนๆ จะได้พบต่อไปครับ วันนี้ลาไปก่อน






ข่าวหมากรุกสากล รายการแข่งขันหมากรุกสากลชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 44 (ปี2021)

     สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่สนใจหมากรุกสากล หลังจากที่เลื่อนแข่งมาตั้งแต่ช่วงเมษายนที่ผ่านมาเนื่องจากโควิด ได้เวลาแข่งแล้วนะครับสำหรับรายการกา...