1.ตัวหมากไม่เพียงพอที่จะทำให้คิงอีกฝ่ายจน(Insufficient Material)
คือไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถชนะกันได้ เช่น ทั้งสองฝ่ายเหลือเพียง คิง กับ คิง
2.ทั้งสองฝ่ายยอมเสมอกัน (Friendly Agreement)
ผู้เล่นสองฝ่ายตกลงเสมอกัน อาจเพราะเปล่าประโยชน์ที่เสียเวลาเล่นในตำแหน่งที่คิดว่าไม่น่าจะชนะกันได้ หรือบางทีก็กลัวจะพลาดพลั้งด้วยกันทั้งคู่
หรือบางทีในเกมการแข่งขันทั้งสองพอใจกับการแบ่งคะแนนกันไป (ในหมากรุกสากลนั้น ปกติ ชนะได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้แต้ม และ เสมอกันจะได้ฝ่ายละครึ่งคะแนน หรือ 0.5 แต้ม
ในผู้เล่นระดับสูงเช่น ระดับ grandmaster มักตกลงเสมอกันเมื่อเดินไปเพียงไม่กี่ตา ลักษณะนี้เราเรียกว่า "grandmaster draws."
3. การรุกล้อ (Perpetual Check)
คือการที่คิงไม่สามารถหนีจากการรุกครั้งแล้วครั้งเล่าของคู่ต่อสู้ได้ (จำได้ไหมครับว่า เมื่อคิงถูกรุก และหมดตาเดิน เราเรียกว่า "รุกจน") เมื่อคิงหลบการรุกจากตำแหน่งหนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง ก็จะถูกรุกอยู่ร่ำไป (ส่วนใหญ่ฝ่ายที่รุกล้อ เพื่อหวังผลเสมอ หรือบางทีรูปหมากเสียเปรียบ การรุกล้อเป็นวิธีเดียวที่จะเอาเสมอได้) มาดูตัวอย่างกันดีไหมครับ
จากรูปข้างต้นจะเห็นว่า ฝ่ายดำมีตัวหมากมากกว่า คือ 2 รู้ค และ 2 พอน ส่วนฝ่ายขาวมีเพียงรู้ค เท่านั้น แต่นั่นก็เพียงพอสำหรับการแบ่งแต้ม!!
ฝ่ายขาวเดิน 1.Rd7+ โจมตีคิงดำ ฝ่ายดำเลือกเดินคิงได้เพียงสองตาเดิน ซึ่งผลก็ไม่ต่างกันนัก
1...Kb8 ฝ่ายดำเลือกเดินคิงไปตา b8
2.Rd8+ ฝ่ายขาวเดินรู้คไปรุกคิงดำที่ d8 อ่าฮ่า ตอนนี้คิงดำทำได้เพียงเดินกลับไปตาเดิมและฝ่ายขาวทำดีที่สุดเพียงรุกล้อเท่านั้น เห็นไหมว่าตัวเยอะกว่าใช่ว่าจะชนะเสมอไป
4. การอับ (Stalemate)
คือการที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นฝ่ายที่จะต้องเดินในตานั้น แต่ว่าไม่สามารถเดินได้ เพราะไม่มีตาเดินที่ถูกกติกา (และคิงก็ไม่ได้ถูกรุกอยู่) ลักษณะนี้เราเรียกว่า "อับ" ไปดูรูปประกอบกันเลยครับ
รูปนี้ฝ่ายขาวเพิ่งเดิน รู้คไปยัง g7 1.Rg7 ซึ่งเป็นการพลาดมหันต์แทนที่จะชนะเลยต้องแบ่งแต้มให้ฝ่ายดำเพราะทั้งคิงดำ และพอนดำ ไม่สามารถเดินได้ ทำให้เสมอกานปายยยยย
เอาล่ะครับ เพื่อนๆเมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ เพื่อนๆก็พร้อมแล้วที่จะลงสมรภูมิการเล่นหมากรุกสากล...ในการเรียนรู้หมากรุกสากลนั้นชีวิตนี้อาจไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ได้หมด แต่หวังว่าเพื่อนๆจะสนุกกับมันนะครับ แล้วพบกันอีกครับ
No comments:
Post a Comment